Powered By Blogger

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

ปริมาณการส่งออกข้าวของทวีปเอเชีย ปี 2549-2552

หลักการและเหตุผล
ข้าวเป็นพืชอาหารที่สำคัญชนิดหนึ่งของโลก โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียที่นิยมรับประทานข้าวเป็นอาหารประจำวันมากกว่าในภูมิภาคอื่นๆของโลกการผลิต บริโภคและการค้าค้าข้าวส่วนใหญ่จึงกระจุกตัวอยู่ในทวีปเอเชีย แต่ข้าวที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะใช้ในบริโภคภายในประเทศ ทำให้ข้าวมีเพียงร้อยละ 6 เท่านั้นที่เข้าสู่ตลาดการค้าข้าวระหว่างประเทศ
ในทวีปเอเชียเป็นทวีปที่อุดมไปด้วยทรัพยาการแร่ธาตุหลายชนิดซึ่งกระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูกผลิตผลทางการเกษตร จากการประเมินขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งชาติประชาชาติสรุปได้ว่า ผลผลิตการเกษตรทั่วโลกโดยส่วนรวมมีแนวโน้มลดลง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในทวีปแอฟริกา เข้าขั้นวิกฤต ประเทศในเอเชียปีนี้จะดูเหมือนว่าการเพาะปลูกพืชผลการเกษรจะได้ผลดีเพราะฝนมาถูกต้องตามฤดูกาล ปัจจุบันข้าวยังเป้นสินค้าส่งออกได้ดีในทวีปเอเชียที่นำเงินเข้าประเทศจำนวนมาก
จากข้างต้น จะเห็นว่าวิวัฒนาการค้าข้าวของทวีปเอเชีย ที่ผ่านมานับศตวรรษได้สะท้อนถึง ภูมิปัญญาของคนในทวีปเอเชีย จากภูมิปัญญาพื้นบ้านมาสู่การเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น และนำมา ประยุกต์ใช้ให้เกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนวิธีการลงทุน การบริหารจัดการ กิจการขนาดเล็กในชุมชน ไปสู่การทำธุรกิจกิจการค้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ ที่เข้มแข็ง จนข้าวได้กลาย เป็นสินค้าออกที่สำคัญของประเทศไทย ทำให้สามารถครองความเป็นหนึ่งของโลกในด้านการค้าข้าวได้ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การค้าข้าวอย่างเสรี ในปัจจุบันมีการแข่งขันกันรุนแรงยิ่งขึ้น ประเทศในทวีปเอเชียจึง จำเป็นต้องปรับปรุงต้นทุนการผลิต ระบบการผลิตและกระบวนการส่งออก เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ในตลาดโลกเพื่อรักษาความเป็นผู้นำ การค้าข้าวในตลาดโลกต่อไป
เนื้อหา
การผลิตและการบริโภคข้าวส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการผลิตข้าวและมีพฤติกรรมการบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก นอกจากนี้จากที่มีการขยายตัวของประชากรอย่างรวดเร็วในภูมิภาคดังกล่าว ส่งผลให้มีการสนับสนุนการผลิตข้าวเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ และก่อให้เกิดความมั่นคงด้านอาหาร ในประเทศต่างๆ นอกจากนั้นยังสามารถอาศัยการส่งออกข้าวเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศ
สภาวะการผลิตข้าวของโลกมีการเปลี่ยนแปลง เพิ่มและลดตามสภาวะการณ์ผลิตของประเทศผู้ส่งออกและนำเข้าข้าวที่สำคัญในตลาดโลก ผลผลิตข้าวของโลกในช่วงปีการผลิต 2545/46 – 2549/50 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยตลอด โดยมีอัตราการเจริญเติบโตของผลผลิตเฉลี่ยร้อยละ 2.376 ขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศที่เพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 0.616 ในขณะที่มีการส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ย ร้อยละ 6.406 มีผลให้ปริมาณข้าวคงเหลือสะสมในสต็อกปลายปีมีแนวโน้มลดลง

การผลิตข้าวของโลก
จากสถิติของกระทรวงเกษตรสหรัฐระบุว่าในปี 2544 มีการผลิตข้าวสารทั่วโลกทั้งสิ้น ประมาณ 397 ล้านตัน โดยการผลิตส่วนใหญ่อยู่ในเอเชีย ประมาณ 360 ล้านตัน มากกว่าร้อยละ 90 ของการผลิตลงมา รองลงมาคือทวีปอเมริกาแอฟริกาและยุโรป ประเทศที่ผลิตข้าวได้มากที่สุดในโลก คือ จีน ประมาณร้อยละ 30 ของผลผลิตข้าวทั้งหมด รองลงมา คือ อินเดีย อินโดนีเซีย บังคลาเทศ เวียดนาม และไทย คิดเป็น ร้อยละ22, 8, 6, 5และ4 ตามลำดับ แต่ผลผลิตส่วนใหญ่ที่ได้ถูกใช้ในการบริโภคในประเทศและสำหรับอินโดนีเซียและบังคลาเทศแม้ว่าจะผลิตข้าวได้มาก แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการในประเทศ ส่วนประเทศอื่นๆ เช่น จีน อินเดียและเวียดนาม นั้นมีข้าวเหลือสำหรับส่งออกได้บ้าง โดยไทยเป็นประเทศที่มีสัดส่วนการส่งออกต่อปริมาณผลผลิตที่ผลิตได้มากที่สุด คือ ร้อยละ 40
การผลิตข้าวของโลกมีแนวโน้มลดลงลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2543 มีการผลิตข้าวลดลงร้อยละ 2.80 จากปี 2542 และมีการคาดว่าการผลิตข้าวของโลกจะลดลงอีก ร้อยละ 0.5 ในปี2544 โดยจะได้รับอิทธิพลจากการลดลงของการผลิตข้าวผลิตข้าวในจีนมากที่สุด จากการประมาณว่าจีนจะผลิตข้าวในปี 2545 ลดลงถึง 5.5 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 4.20 ของการผลิตข้าวสารทั้งหมดของจีน

การบริโภคข้าวของโลก
การบริโภคข้าวของโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่เป็นการเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่น้อยมาก โดยในปี 2544 มีการบริโภคข้าวประมาณ404 ล้านตัน ข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2543 ร้อยละ1.5 ส่วนในปี 2545 คาดว่าจะมีการบริโภคข้าวจำนวนเกือบ 407 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเพียง 2.7 ล้านตัน คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากการบริโภคข้าวปี 2544
ประเทศผู้บริโภคข้าวส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอชียเช่นเดียวกับการผลิต ประเทศที่มีการบริโภคมากที่สุดคือจีน มีการบริโภคข้าวปีละประมาณ134 ล้านตันข้าวสาร รองลงมา คือ อินเดีย 85 ล้านตัน อินโดนีเซีย 36 ล้านตัน บังคลาเทศ 26 ล้านตัน เวียดนาม 17 ล้านตัน และพม่า 9 ล้านตัน ตามลำดับ โดยแต่ละประเทศผู้บริโภคข้าวที่สำคัญมีการบริโภคข้าวในแต่ละปีเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ประเทศที่มีการบริโภคข้าวเพิ่มขึ้นในสัดส่วนมากที่สุด คือ บังคลาเทศมีการบริโภคข้าวในปี 2544 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.5 ส่วนจีนซึ่งเป็นประเทศผู้บริโภคข้าวมากที่สุดในโลกมีการบริโภคข้าวในปี 2544 เพิ่มขึ้น เพียงร้อยละ 0.4 ประเทศผู้บริโภคข้าวที่สำคัญอื่นๆ ก็มีการบริโภคข้าวเพิ่มขึ้น ในสัดส่วนที่น้อยมาก(ไม่ถึงร้อยละ 4 ต่อปี) เช่นกัน ดังนั้นจึงทำให้การบริโภคข้าวโลกโลกเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และในปี 2545 ก็มีการคาดการณ์ว่าการบริโภคข้าวจะเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่น้อยมากเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา
การค้าข้าวของโลก
การค้าข้าวของโลกในปัจจุบันมีประเทศผู้ส่งออกออกที่สำคัญ คือ ไทย เวียดนาม สหรัฐอเมริกา จีน พม่า ปากีสถาน และอินเดียที่น่าจะมีการส่งออกข้าวเพิ่มอย่างมหาศาลในปี 2545 โดยเฉพาะอินเดียที่มีสต๊อกข้าวประมาณ 19 ล้านตันข้าวสาร ถึงแม้ว่าจะมีผู้ส่งออกข้าวหลายประเทศ แต่ประเทศผู้ส่งออกข้าวหลายประเทศ แต่ประเทศผู้ส่งออกแต่ละประเทศมีสินค้าข้าวที่แตกต่างกัน คือ ไทยและสหรัฐแข่งขันกันในการส่งออกข้าวคุณภาพกลางและคุณภาพต่ำ แต่ไทยก็สามารถก็สามารถส่งออกข้าวมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกได้เป็นเวลานานถึง 20 ปีติดต่อกัน
ในปี 2545 มีการประมาณการณ์ว่าประเทศที่มีการส่งออกข้าวมากที่สุดในโลก คือ ประเทศไทย ประมาณ 7 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 30 ของปริมาณการส่งออกข้าวทั้งหมด รองลงมา คือ อินเดียคิดเป็นร้อยละ 16 เวียดนาม 13 สหรัฐอเมริกา 11 จีน 6 และพม่า 4 ขณะที่ในปี 2544 อินเดียมีการส่งออกข้าวเพียง 1.799 ล้านตันข้าวสาร น้อยกว่าเวียดนาม สหรัฐอเมริกา จีน และปากีสถาน แต่ในปี 2545 อินเดียจะมีการส่งออกข้าวมากขึ้น เนื่องจากมีข้าวเหลืออยู่ในสต็อกเป็นจำนวนมหาศาล ซึ่งจะทำให้ในปี 2545 อินเดียสามารถส่งออกข้าวได้เป็นอันดับสองของโลก รองลงมา คือ เวียดนาม จีน และพม่าโดยอินเดียจะมีการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นจากปี 2544 ถึง 1.22 เท่าตัว ในขณะที่ไทยและเวียดนามจะมีการส่งออกออกเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก ส่วนปากีสถาน จีนและสหรัฐอเมริกาจะมีการส่งออก ออกข้าวลดลงจากปี 2544 คิดเป็นร้อยละ 50 19 และ 6 ตามลำดับ การที่ปากีสถานจะมีการส่งออกข้าวลดลงมาก เนื่องจากสงครามที่เกิดขึ้นอาฟกานิสถานทำให้ค่าขนส่งสูงขึ้นมาก ผู้นำเข้าจึงน่าจะหันมานำเข้าจากอินเดียและไทยมากขึ้น
ในด้านการนำเข้าข้าวนั้น ประเทศผู้นำเข้าข้าวที่สำคัญของโลก คือ อินโดนีเซีย ไนจีเรีย อิหร่าน อิรัก และซาอุดิอาระเบีย ตามลำดับ โดยมีการคาดการณ์ว่าสัดส่วนการนำเข้าเป็นร้อยละ 11 6 5 4และ 4 ตามลำดับ จากการนำเข้าข้าวทั้งหมดของโลกจำนวน 24.47 ล้านตันข้าวสารในปี 2545 ในขณะที่ปี 2544 นั้นไนจีเรียมีการนำเข้าข้าวมากที่สุด รองลงมา คืออินโดนีเซีย
ในปี 2544 นั้นราคาข้าวที่ขายกันในตลาดโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีรายงานว่ามีข้าวเหลืออยู่ในสต็อกของสหรัฐอเมริกาและอินเดียเป็นจำนวนมาก และในขณะเดียวกันปริมาณาวที่ผลิตได้ในเวียดนามและปากีสถานมีจำนวนน้อย ส่งผลทำให้ประเทศที่มีข้าวในสต็อกจำนวนมากแข่งขันกันตัดราคา ทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกลดลง
ตลาดข้าวโลก
หากแบ่งตลาดข้าวของโลกจากชนิดของข้าวจะสามารถแบ่งได้เป็น 3 ตลาดหลักตามลำดับดังนี้ คือข้าวเม็ดยาว (Indica Rice) มีส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุดถึงร้อยละ 80 รองลงมาคือ ข้าวเม็ดสั้น (Japonica Rice) มีส่วนแบ่งประมาณร้อยละ 16-18 และสุดท้ายคือ ข้าวพื้นเมือง (Local Rice) ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดน้อยที่สุด เพียงร้อยละ 2-4 เท่านั้น ซึ่งเมื่อพิจารณาข้อมูลของตลาดข้าวเม็ดยาวที่มีขนาดตลาดใหญ่ที่สุด พบว่าจากปริมาณการซื้อขายข้าวในตลาดโลกที่มีอยู่ประมาณ 26-27 ล้านตันต่อปีนั้น เป็นการส่งออกของประเทศไทยเสีย 6-7 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 25-30ของขนาดตลาดโดยรวม ซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก
นอกจากนี้ข้อมูลการส่งออก ที่จำแนกส่วนแบ่งทางการตลาดของข้าวไทย โดยใช้คุณภาพของข้าวเป็นเกณฑ์ยังชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยครองตลาดข้าวคุณภาพดี (ข้าวหอม ข้าวขาว 5% และข้าวขาว 100%)มากที่สุดโดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดในตลาดข้าวคุณภาพดีสูงถึงร้อยละ 45.7 และยังมีการส่งออกข้าวคุณภาพต่ำ (ข้าวแข็งหรือข้าวขาว20-35% และปลายข้าว) ข้าวนึ่ง (Parboil Rice) และข้าวคุณภาพปานกลาง (ข้าวขาว 10-15%) รองลงมาเป็นลำดับ ได้แก่ ร้อยละ 22.51 ร้อยละ 20.4 และร้อยละ 12.21ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวนั้นมีการส่งออกเพียงร้อยละ 0.1-0.2 ล้านตันข้าวสารต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 3 ของปริมาณการส่งออกข้าวทั้งหมด อีกทั้งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวมีอัตราการส่งออกลดลงเฉลี่ยร้อยละ0.75
ดังนั้นการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวจึงมีนัยยะสำคัญต่อการส่งออกน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบการส่งออกข้าวประเภทอื่นๆ
ทั้งนี้หากแยกปริมาณการส่งออกที่กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆทั่วโลกจะพบว่าประเทศที่นำเข้าข้าวจากไทยส่วนใหญ่อยู่ในเขตเอเชียมีสัดส่วนถึงร้อยละ 47 ตามด้วยเขตแอฟริการ้อยละ 24 เขตตะวันออกกลางร้อยละ 16 เขตอเมริการ้อยละ 7 เขตยุโรปร้อยละ 5และเขตโอเชียเนีย ซึ่งความต้องการข้าวของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันไม่พียงแต่ด้านปริมาณการสั่งซื้อ แต่ยังรวมถึงคุณภาพของข้าวด้วยซึ่งสามารถแยกวิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้
ประเทศในเขตเอเชียที่มีการซื้อข้าวจากไทยเป็นประจำในปริมาณที่ค่อนข้างแน่นอนทุกปี และเป็นข้าวคุณภาพดีเกือบทั้งหมด ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย และบูรไนส่วนประเทศที่ซื้อข้าวจากไทยไม่สม่ำเสมอ ขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิตภายในประเทศของตนเองและนโยบายของรัฐในแต่ละยุค ได้แก่ อินโดนีเซีย จีน ฟิลิปปินส์และบังคลาเทศซึ่งโดยส่วนใหญ่มักซื้อข้าวคุณภาพต่ำ ประเทศในเขตตะวันออกกลางนับเป็นตลาดข้าวคุณภาพดีและข้าวนึ่งที่สำคัญของประเทศไทยมาโดยตลอด

ประเทศในเขตแอฟริกาเป็นตลาดข้าวคุณภาพต่ำที่สำคัญ เพราะแต่ละปีจะมีความต้องการข้าวที่ค่อนข้างสูง แต่ส่วนใหญ่เป็นประเทศยากจน จึงมุ่งซื้อข้าวจากแหล่งที่มีราคาถูกหรือแหล่งที่ขายเงินเชื่อระยะยาวเป็นหลัก ซึ่งหลังจากที่ประเทศไทยปรับกลยุทธในการส่งออกแล้วทำให้จำนวนการส่งออกข้าวไปยังแอฟริกามีแนวโน้มสูงขึ้นประเทศในเขตทวีปอเมริกาเหนือเป็นตลาดข้าวคุณภาพดีของไทยที่มีแนวโน้มจะพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีคู่แข่งสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกา แต่ยังสามารถส่งออกได้อีกมาก เนื่องจากจำนวนเอเชียที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตนี้มีมาก และชื่นชอบรสชาติของข้าวหอมคุณภาพดีของไทย
ส่วนประเทศในเขตอเมริกาใต้ อย่างประเทศคิวบา บราซิล และเปรู ถึงแม้จะมีความต้องการข้าวไทยมาก แต่มีปัญหาขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ จึงทำให้ปริมาณนำเข้ายังน้อย
ประเทศในยุโรปเป็นตลาดข้าวคุณภาพดีเช่นเดียวกันแต่ประเทศไทยยังมีส่วนแบ่งทางการตลาดค่อนข้างต่ำ เพราะเสียเปรียบสหรัฐอเมริกาในด้านค่าขนส่งประเทศในเขตโอเชียเนีย ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และฟิจิ เป็นตลาดข้าวคุณภาพดีที่ยังมีปริมาณการนำเข้าต่ำเพียง 8-9 หมื่นตันต่อปี แต่ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นโดยรูปแบบการส่งออกข้าวของประเทศไทยมี 2 ลักษณะคือ
1. การส่งออกโดยภาคเอกชน หลังการยกเลิกกฎหมายควบคุมการส่งออกข้าวในปี พ.ศ.2498 ทำให้เอกชนเข้ามาดำเนินธุรกิจการส่งออกข้าวได้อย่างเสรี โดยปัจจุบันการส่งออกโดยภาคเอกชนมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 90 ของปริมาณการส่งออกทั้งหมดซึ่งลักษณะการส่งออกมีทั้งแบบที่เป็นการค้าโดยทางตรงและการค้าโดยทางอ้อม ทั้งนี้การค้าโดยทางตรง คือการที่ผู้ส่งออกติดต่อทำการค้ากับลูกค้าประจำของตนในแต่ละประเทศและส่วนการค้าโดยทางอ้อม คือการติดต่อโดยผ่านนายหน้าระหว่างประเทศ หรือ Brokersซึ่งโดยส่วนใหญ่ในระยะแรกของการประกอบการของบริษัทผู้ส่งออกรายใหม่มักจะขายข้าวในรูปแบบนี้เนื่องจากยังไม่สามารถเข้าถึงผู้ซื้อได้โดยตรง
นอกจากการค้าข้าวระหว่างเอกชนกับเอกชนแล้ว ยังมีการค้าข้าวผ่านโครงการอาหารโลก (World Food Program) โดยในแต่ละปีสหประชาชาติจะเปิดประมูลซื้อข้าวเพื่อนำ ไปช่วยเหลือประเทศที่ยากจนหรือประสบภัยธรรมชาติ ซึ่งผู้ส่งออกของไทยสามารถเข้าไปร่วมการประมูลขององค์การสหประชาชาติได้
2. การส่งออกโดยภาครัฐต่อรัฐ หรือเรียกว่าการส่งออกแบบ G – G มีสัดส่วนในการส่งออกเพียงร้อยละ 10 ของการส่งออกทั้งหมด ทั้งนี้วัตถุประสงค์หลักของการดำเนินงานส่งออกโดยรัฐบาลคือเร่งระบายข้าวออกต่างประเทศให้มากที่สุด เพื่อยกระดับราคาข้าวภายในประเทศ โดยปัจจุบันการค้าข้าวของรัฐบาลได้กลายเป็นมาตรการหลักอย่างหนึ่งในการแทรกแซงตลาดข้าวและดึงราคาข้าวภายในประเทศให้สูงขึ้นตามที่รัฐบาลกำหนดแต่ในอนาคตแนวโน้มการส่งออกโดยรัฐจะมีบทบาทลดลง เนื่องจากรัฐมีนโยบายไม่ต้องการขายแข่งขันกับภาคเอกชน โดยที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้ทำสัญญาซื้อขายกับรัฐบาลหลายประเทศ ในลักษณะเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป เช่น
2.1 การส่งออกหรือขายในรูปเงินสดหรือสินเชื่อ ได้แก่ การขายข้าวให้บรูไน ฟิลิปปินส์ รัสเซีย เกาหลีเหนือ อินโดนีเซีย และอิหร่าน
2.2 การส่งออกผ่านการค้าต่างตอบแทน หรือเรียกว่า Counter trade หรือ Bartertrade เพื่อช่วยหรือเสริมการระบายข้าวในสต็อกของไทย เนื่องจากในแต่ละปีรัฐบาลจะเข้าแทรกแซงตลาดข้าว เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโดยซื้อข้าวเก็บไว้อยู่แล้วและประกอบกับความต้องการสั่งซื้อสินค้าประเภทเครื่องมือ เครื่องจักรหรือยุทธภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงจากต่างประเทศจึงทำให้เกิดแนวคิดที่จะนำข้าวไปแลกสินค้ามูลค่าสูงเหล่านั้นแทนการชำระเงินสด
2.3 การส่งออกในรูปการให้ความช่วยเหลือ โดยรัฐบาลจะส่งออกข้าวในลักษณะการบริจาคข้าวให้แก่ประเทศผู้นำเข้าแบบให้เปล่า เพื่อเสริมสร้างหรือขยายความสัมพันธ์กับประเทศผู้นำเข้าข้าวที่ได้รับภัยธรรมชาติหรือเผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจถึงแม้ว่าข้าวจะเป็นสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญที่สุดของประเทศไทยหลายทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยสามารถส่งออกได้มากเป็นอันดับหนึ่งของโลกมายาวนาน แต่ข้อเท็จจริงคือ สัดส่วนข้าวที่มีการซื้อขายกันในตลาดโลกนั้นมีเพียงประมาณร้อยละ 4 ของปริมาณผลผลิตข้าวทั้งหมดในโลก ซึ่งนับว่าเป็นตลาดที่เล็กมาก นอกจากนี้ประเทศส่วนใหญ่ที่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลักจะมีนโยบายส่งเสริมการปลูกข้าวให้พอเพียงมากกว่าการพึ่งพาการนำเข้า ประกอบกับตลาดข้าวระหว่างประเทศเป็นตลาดที่มีผู้ซื้อผู้ขายอยู่ทั่วทุกมุมโลกดังนั้นปริมาณการส่งออกข้าวและราคาข้าวในตลาดโลกจึงถูกกำหนดด้วยกลไกตลาดเป็นสำคัญ
ราคาข้าวในตลาดโลก
ราคาข้าวของตลาดโลกโดยปกติผู้ส่งออกและผู้นำเข้าจะพิจารณาอิงจากราคาข้าวของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ในกรณีของข้าวคุณภาพดี ส่วนกรณีราคาข้าวคุณภาพต่ำและปานกลางจะพิจารณาจากราคาข้าวของไทย เวียดนาม พม่า และปากีสถาน ขณะที่ข้าวนึ่งและข้าวกล้องพิจารณาจากราคาข้าวของไทยและสหรัฐอเมริกา ซึ่งราคาข้าวในตลาดโลกจะแตกต่างกันตามชนิดของข้าว ด้านการเปลี่ยนแปลงราคาในตลาดโลกจะขึ้นอยู่กับภาวะและแนวโน้มการผลิตข้าวในทวีปเอเชีย
ราคาข้าวในตลาดโลกจะแตกต่างกันตามชนิดของข้าว ส่วนการเปลี่ยนแปลงราคาในตลาดโลกจะขึ้นอยู่กับภาวะและแนวโน้มการผลิตข้าวของประเทศในทวีปเอเชีย ส่วนราคาส่งออกข้าวในตลาดโลกในช่วงระหว่างปี 2548-2549 ราคาข้าวไทยยังคงสูงกว่าข้าวจากประเทศส่งออกในเอเชีย (ภาพที่ 5) เนื่องจากการแข็งตัวของค่าเงินบาท และคุณภาพเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคโดยเฉพาะประเทศในตะวันออกกลางและเอเชีย ส่วนราคาข้าวจากเวียดนามค่อนข้างคงที่มาตลอด ซึ่งจะเป็นที่สนใจของอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

ปริมาณการส่งออกข้าวของทวีปเอเชีย ปี 2549-2552

ปริมาณการส่งออกข้าวของทวีปเอเชีย ปี 2549-2552

แผนภูมิแสดงการส่งออกข้าวในปี พ.ศ .2549


จากแผนภูมิแสดงการส่งออกข้าวในปี พ.ศ .2549 ส่งออกได้รวมมูลค่า 1,602,878 ล้านตันต่อปี ประเทศที่ส่งออกได้มากที่สุดคือ ประเทศจีน ประเทศจีนส่งออกข้าวได้รวมมูลค่า 653,153 ล้านตันต่อปี เพราะจีนได้นำข้าวหอมมะลิไทยที่มีราคาสูงปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มที่สำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือ การแบ่งส่วนของซัพพลายเชนทั่วเอเชีย โดยจีนมักจะเป็นขั้นสุดท้ายของขั้นตอนการผลิต ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตทั่วเอเชีย ถูกส่งผ่านไปยังประเทศจีนสำหรับขั้นตอนสุดท้ายในการผลิต จากนั้นจึงส่งต่อไปยังสหรัฐฯ หรือยุโรป โดยแนวโน้มนี้เกิดขึ้นกับทุกประเทศยกเว้นมาเลเซีย ซึ่งมีอุตสาหกรรมการส่งออกคอมพิวเตอร์ที่เป็นอิสระจากจีนอย่างชัดเจน ซึ่งส่อเค้าลางที่ไม่ดีสำหรับเป้าหมายของกลุ่มประเทศอาเซียนในการกลายเป็นเขตเศรษฐกิจที่รวมเป็นหนึ่ง แทนที่จะเป็นการรวมตัวของซัพพลายเชนจากตะวันออกไปสู่ตะวันตก หรือตามแกนของประเทศภายในกลุ่มประเทศอาเซียน กลับกลายเป็นการรวมตัวจากเหนือไปใต้ ตามแกนของกลุ่มประเทศอาเซียน-จีนไปสู่ตะวันตก หรือตามแกนของประเทศภายในกลุ่มประเทศอาเซียน กลับกลายเป็นการรวมตัวจากเหนือไปใต้ ตามแกนของกลุ่มประเทศอาเซียน-จีน ประเทศที่ส่งออกข้าวรองลงมาจากจีนคือ ประเทศมาเลเซีย ประเทศมาเลเซียได้ส่งออกข้าวได้มูลค่า 372,814 ล้านตันต่อปี
จากแผนภูมิแสดงการส่งออกข้าวในปี พ.ศ 2549 จะรวมมูลค่าการส่งออกข้าวในทวีปเอเชียทั้งหมด มีมูลค่าการส่งออก 1,602,818 ล้านตันต่อปี

แผนภูมิแสดงการส่งออกข้าวในปี พ.ศ. 2550


จากแผนภูมิแสดงการส่งออกข้าวในปี พ.ศ. 2550 จะเห็นได้ว่าจีนยังคงส่งออกข้าวเป็นอันดับที่1 จีนส่งออกข้าวได้มูลค่า 462,152 ล้านตันต่อปี การส่งออกข้าวของจีนในปี พ.ศ. 2550 จะลดลง จากปี พ.ศ.2549 อย่างเห็นได้ชัด เป็นจำนวน 191,001 ล้านตัน ซึ่งมีจำนวนลดลงจากปีก่อน ปัจจุบันจีนเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 5 ของโลก รองจากไทย เวียดนาม สหรัฐฯ และอินเดียโดยการส่งออกข้าวของจีนมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลจีนสนับสนุนผู้ส่งออกข้าวเพื่อลดภาระสต็อกข้าวที่อยู่ในปริมาณสูง เนื่องจากปริมาณสต็อกที่อยู่ในเกณฑ์สูงเป็นปัจจัยสำคัญในการกดราคาข้าวในจีนให้อยู่ในระดับต่ำ แต่ก็สามารถทำให้ข้าวของจีนในบางเกรดและบางชนิดสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก การส่งออกข้าวของจีนนั้นรวมไปถึงการบริจาคข้าวให้กับประเทศที่กำลังพัฒนา อย่างไรก็ตามรัฐบาลจีนมีนโยบายช่วยผลักดันการส่งออกข้าว โดยบริษัทค้าธัญพืชของรัฐบาลและสหกรณ์สำรองธัญพืช เจรจากับแอฟริกาใต้และยุโรปตะวันออกเพื่อขยายตลาดส่งออกข้าว ดังนั้นจีนจึงเป็นคู่แข่งสำคัญสำหรับการส่งออกข้าวคุณภาพต่ำ นอกจากนี้จะยังเป็นคู่แข่งในการส่งออกปลายข้าวอีกด้วยกล่าวคือ ปัจจุบันจีนสามารถผลิตปลายข้าวได้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ โดยปลายข้าวเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแป้งข้าว น้ำส้ม เส้นก๋วยเตี๋ยว อาหารสัตว์ และเบียร์ นอกจากนี้จีนยังสามารถส่งออกปลายข้าวด้วย
จากแผนภูมิแสดงการส่งออกข้าวของทวีปเอเชีย ปี พ.ศ. 2550 จะรวมมูลค่าการส่งออกข้าวในทวีปเอเชียทั้งหมด มีมูลค่าการส่งออก 2,089,174 ล้านตันต่อปี มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว

แผนภูมิแสดงการส่งออกข้าวในทวีปเอเชีย ปี พ.ศ. 2551


จากแผนภูมิแสดงการส่งออกข้าวในทวีปเอเชีย ปี พ.ศ. 2551 การส่งออกของข้าวในทวีปเอเชียเพิ่มมูลค่า มากมว่าปีที่ผ่านมา โดยมีมีประเทศฟิลิปปินส์ส่งออกข้าวในปีนี้ได้มูลค่ามากที่สุด ฟิลิปปินส์ได้ส่งออกข้าวในปีนี้รวมมูลค่า 559,676 ล้านตันต่อปี ซึ่งเพิ่มมูลค่ามากกว่าปีก่อน 185,648 ล้านตัน ประเทศที่ส่งออกข้าวได้รองลงมาจากฟิลิปปินส์คือมาเลเซีย มาเลเซียส่งออกข้าวได้ในปีนี้เป็นมูลค่า 531,469 ล้านตันต่อปี จะสังเกตได้ว่าประเทศจีนในปีนี้ส่งออกข้าวได้เป็นอันดับที่สาม ในปีนี้จีนได้ส่งออกข้าวได้มูลค่า 249,483 ล้านตันต่อปี ในปีที่ผ่านมา จีนจะนำเป็นที่หนึ่งมาตลอด
จากแผนภูมิแสดงการส่งออกข้าวในทวีปเอเชียในปี พ.ศ. 2551 จะรวมมูลค่าการส่งออกข้าวทั้งหมดได้มูลค่า 2,015,747 ล้านตันต่อปี มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว

แผนภูมิแสดงการส่งออกข้าวในทวีปเอเชีย ปี พ.ศ. 2552


จากแผนภูมิแสดงการส่งออกข้าวในทวีปเอเชีย ปี พ.ศ. 2552 การส่งออกข้าวในปีนี้จะสังเกตได้ว่ามีการเพิ่ม-ลดลง ในแต่ละประเทศ ยกตัวอย่างเช่น เกาหลีใต้ส่งออกข้าวได้ในปี2551 รวมมูลค่า 67,342 ล้านตัน แต่มาในปีนี้เกาหลีใต้ได้ส่งออกข้าวลดลงได้มูลค่า 32,508 ล้านตัน ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าปีนี้เกาหลีใต้ได้ส่งออกข้าวลดลงถึง 34,834 ล้านตัน ประเทศที่มีการส่งออกข้าวได้มูลค่าเพิ่มขึ้นจากทุกปีคือ กัมพูชา จะเห็นได้ชักฃดว่ากัมพูชาส่งออกข้าวในปี พ.ศ. 2549 ได้มูลค่า 34,644 ล้านตัน ปี พ.ศ. 2550 กัมพูชาส่งออกข้าวได้มูลค่า 46,618 ล้านตัน ปี พ.ศ. 2551 กัมพูชาส่งออกข้าวได้มูลค่า 34,725 ล้านตัน แต่มาในปีนี้จะเห็นได้ว่ากัมพูชาได้ส่งออกข้าวเพิ่มมูลค่าได้มากกว่าทุกปีคือ 42,667 ล้านตัน ดังนั้นการจะสังเกตได้ว่าส่งออกข้าวในแต่ละประเทศจะไม่แน่นอน
จากแผนภูมิแสดงการส่งออกข้าวในทวีปเอเชียในปี พ.ศ 2552 จะรวมมูลค่าการส่งออกข้าวทั้งหมด มีมูลค่าการส่งออก 1,242,331 ล้านตันต่อปี มีมูลค่าลดลงจากปีที่ผ่านมา

แผนภูมิแสดงการส่งออกข้าวในทวีปเอเชีย


จากแผนภูมิแสดงการส่งออกข้าวในทวีปเอเชียรวมทั้งหมด4ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ 2549-2552 จะเห็นได้ว่าปี พ.ศ. 2550 มีการเพิ่มมูลค่าการส่งออกข้าวมากที่สุด แสดงให้เห็นถึงในแต่ละประเทศมีการพัฒนาศักยภาพในการส่งออกข้าวในแต่ละประเทศต่างๆ จะสังเกตได้ว่ากราฟด้านบน แสดงถึงการส่งออกข้าวในปี พ.ศ. 2550 ได้เพิ่มมูลค่าการส่งออกข้าวได้มูลค่ามากที่สุดเป็นมูลค่า 2,089,174 ล้านตันต่อปี

สรุปภาพรวมและข้อเสนอแนะ

สรุปภาพรวม
ข้าวเป็นพืชอาหารที่สำคัญชนิดหนึ่งของโลก โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียที่นิยมรับประทานข้าวเป็นอาหารประจำวันมากกว่าในภูมิภาคอื่นๆของโลกการผลิต บริโภคและการค้าค้าข้าวส่วนใหญ่จึงกระจุกตัวอยู่ในทวีปเอเชีย วิวัฒนาการค้าข้าวของทวีปเอเชีย ที่ผ่านมานับศตวรรษได้สะท้อนถึง ภูมิปัญญาของคนในทวีปเอเชีย จากภูมิปัญญาพื้นบ้านมาสู่การเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น และนำมา ประยุกต์ใช้ให้เกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนวิธีการลงทุน การบริหารจัดการ กิจการขนาดเล็กในชุมชน ไปสู่การทำธุรกิจกิจการค้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ ที่เข้มแข็ง จนข้าวได้กลาย เป็นสินค้าออกที่สำคัญของประเทศไทย ทำให้สามารถครองความเป็นหนึ่งของโลกในด้านการค้าข้าวได้ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การค้าข้าวอย่างเสรี ในปัจจุบันมีการแข่งขันกันรุนแรงยิ่งขึ้น ประเทศในทวีปเอเชียจึง จำเป็นต้องปรับปรุงต้นทุนการผลิต ระบบการผลิตและกระบวนการส่งออก เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ในตลาดโลกเพื่อรักษาความเป็นผู้นำ การค้าข้าวในตลาดโลกต่อไป
นอกจากนี้ข้าวยังเป็นสินค้าส่งออกที่ดีที่สุดของประเทศไทยที่ทำเงินเข้าประเทศได้เป็นจำนวนมากและยังเป็นยึดเป็นอาชีพหลักและทำเงินมาเลี้ยงชีพตนได้อย่างมีความสุข
ข้อเสนอแนะ
จากการที่ได้ศึกษาเรื่องการส่งออกข้าวทวีปเอเชีย จะเห็นได้ว่าการส่งออกข้าวในแต่ละปีและแต่ละประเทศจะมีผลกระทบผลผลิตที่ต่างกัน บางประเทศก็มีผลกระทบจากการสภาพภูมิอากาศ บางประเทศก็มีผลกระทบมาจากค่าเงินบาทที่สูงขึ้น หรืออาจถูกแบ่งแย่งตลาดข้าวราคาถูกจากประเทศต่างๆ แต่บางประเทศตลาดข้าวก็ยังราคาดีเช่นเดิม แต่การส่งออกข้าวนั้น สามารถสร้างรายได้ให้ทั้งในประเทศและทั้งประชากรในประเทศได้ดีทีเดียว
อยากให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการส่งออกข้าวของไทย ช่วยการส่งเสริมการเกษตรผลผลิตของประเทศไทย ให้คนที่ทำเกษตรได้ผลตอบแทนที่มากก่าเดิม จะทำให้เกษตรกรมีกำลังใจในการปลูกข้าวส่งออกนอกประเทศ หรือเจ้าตลาดโลก เพื่อประเทศไทยจะได้มีชื่อเสียงในเรื่องการเกษตร อยากจะให้ทางภาครัฐเข้ามาช่วยส่งเสริมการขายให้มากขึ้นกว่าเดิม เพราะเท่าที่ผ่านายังปล่อยให้เกษตรกรหาตลาดเอง